My Slide

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารกับวัยรุ่น



วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา โดยจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีความต้องการสารอาหารและพลังงานค่อนข้างสูง ควรมีการบริโภคอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสมรรถนะในด้านต่างๆ เช่น การเรียน การเล่นกีฬา การเจริญเติบโต ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บติดตามมา รวมทั้งโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ในวัยรุ่นยุคปัจจุบัน โรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้อายุเฉลี่ยของประชากรชาวโลกลดน้อยลง


ปัญหาหลักทางด้านโภชนาการในวัยรุ่นคือมีการขาดสารอาหารต่างๆ เช่น ขาดธาตุเหล็ก ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียจากโลหิตจาง ขาดธาตุไอโอดีน ขาดวิตามินเอ ขาดโปรตีนทำให้ได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโต ตัวเตี้ย ผอม ความฉลาดลดลง สำหรับรายที่รับประทานอาหารมากเกินไปจะเกิดโรคอ้วน ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมาเช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขข้อ เกาต์ มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกในผู้หญิง มะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชาย นิ่วในถุงน้ำดี อาการซึมเศร้า เป็นต้น






ดังนั้นอาหารสำหรับวัยรุ่นโดยทั่วๆ ไปก็คล้ายๆ กับสัดส่วนอาหาร ซึ่งทางเวชศาสตร์ต้านความชราแนะนำ คือ

ควรได้พลังงานจากโปรตีนร้อยละ 10-15 เทียบได้กับเนื้อสัตว์ 45-60 กรัมต่อวัน หรือ 2-3 ส่วนต่อวัน

คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 และควรเป็นรูปเชิงซ้อน เช่น กลุ่มแป้ง ข้าว ขนมปัง 8-12 ทัพพี ผัก 2-4 ส่วนต่อวัน (4-6 ทัพพี)

ผลไม้ เพื่อการได้มาซึ่งวิตามิน เกลือแร่และควรรับประทานของสด 3-5 ส่วนต่อวัน

ไขมันน้อยกว่าร้อยละ 30 และควรมีสัดส่วนไขมันอิ่มตัวต่อ
ไขมันไม่อิ่มตัวในสัดส่วน 1:1



น้ำตาล เกลือเล็กน้อย

แคลเซียม 1200-1500 มิลลิกรัมต่อวัน

ธาตุเหล็ก 12-15 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับธาตุเหล็กควรได้รับในปริมาณที่พอเหมาะ เนื่องจากการได้รับมากเกินไปโดยที่ร่างกายไม่ขาดอาจก่อให้เกิดการสร้างสารอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมชราเร็วขึ้นได้ ดังนั้นควรจะเสริมเมื่อขาดเท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น